|
การแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักวิจัยและพัฒนา
สำนักวิจัยและพัฒนา แบ่งงานออกเป็น 1 ฝ่าย 3 ส่วน 1 สถาบัน
|
|
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ |
|
|
1)
|
ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา การบริหารจัดการภายในสำนักงานหรือการบริหารราชการทั่วไป งานสารบรรณ รับ – ส่ง บริการ ค้นหา จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง - พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดในการบริหารสำนักงาน
|
2)
|
ศึกษา กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ งานการเงินและบัญชี การจัดทำบัญชี การเบิกจ่ายเงิน การควบคุมงบประมาณ การจัดทำรายงานแสดงฐานะทางการเงิน และการบริหารต้นทุนผลผลิต เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
|
3)
|
ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสำนักฯ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
|
4)
|
ศึกษา กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ งานพัสดุ การจัดซื้อ จัดจ้าง การบริหารสัญญา การจัดทำบัญชีพัสดุ การจัดทำทะเบียน การเบิกจ่าย การจัดหาคลังพัสดุ การจำหน่าย และการบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
|
5)
|
ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน กำกับ ดูแล การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนัก การวิเคราะห์โครงสร้างและอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน ลาออก บำเหน็จบำนาญ การพิจารณา ความดีความชอบ การพัฒนาบุคลากร การจัดการความรู้ การเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม
|
6)
|
ศึกษา วางแผน กำกับ ดูแล การจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างความผาสุก เพื่อให้บุคลากร มีคุณภาพชีวิตที่ดี
|
7)
|
วางแผน กำกับ ดูแล การปรับปรุงสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน เพื่อให้สถานที่และสิ่งแวดล้อมในการทำงานมีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ และมีบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
|
8)
|
วางแผน กำกับ ดูแล การประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม ความรู้ ความก้าวหน้า และผลงานของหน่วยงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลของหน่วยงาน อย่างต่อเนื่อง
|
9)
|
กำกับ ดูแล การจัดประชุม งานรับรองและงานพิธีการโดยมีการเตรียมเอกสาร การนำเสนอ การจดบันทึก ตรวจสอบและเรียบเรียงรายงานต่างๆ และติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุม เพื่อให้การบริหารการประชุมหรืองานพิธีการต่างๆ นั้น บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหน่วยงาน
|
10)
|
ให้คำปรึกษา แนะนำ ถ่ายทอดความรู้ การบริหารงานทั่วไปให้แก่บุคลากรในสำนัก เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ
|
11)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
|
|
|
ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ |
|
|
1)
|
ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล การจัดทำนโยบายและ ยุทธศาสตร์การวิจัยของกรมชลประทาน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมชลประทาน
|
2)
|
ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบบริหารงานวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับภาพรวมขององค์กร
|
3)
|
ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการประสานกับหน่วยงานวิจัยภายนอกกรมชลประทาน เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาของกรมชลประทานสอดคลองกับทิศทางระดับชาติ
|
4)
|
ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม จัดทำ แผนงาน งบประมาณด้านการวิจัยของกรมชลประทาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานด้านงบประมาณ
|
5)
|
ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล การสรรหา กลั่นกรอง และจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอการวิจัย เพื่อให้งานวิจัยสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยกรมชลประทาน
|
6)
|
ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวม ติดตาม ผลการดำเนินงานวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
7)
|
วางแผน กำกับ ดูแล และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของกรมชลประทาน เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์
|
8)
|
ให้คำปรึกษา แนะนำ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจและสามารถสร้างงานวิจัยเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาของกรมชลประทานได้
|
9)
|
ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ของสำนัก เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
10)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำและการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ |
11)
|
ศึกษา ค้นคว้า สรรหาหัวข้อวิจัยแบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหางานชลประทานในด้านวิศวกรรมให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด และทันสมัย
|
12)
|
ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนางานชลประทานให้มีความเหมาะสมเป็นปัจจุบัน
|
13)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมชลประทาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของกรมชลประทาน
|
14)
|
ค้นคว้า วิจัย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำ
|
15)
|
วางแผน กำกับ ดูแล ควบคุม การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์อุปกรณ์ด้านชลศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติงานทดสอบและวิเคราะห์เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดวิชาการ
|
16)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
|
|
|
ส่วนทดสอบและวิเคราะห์วัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ |
|
|
1)
|
ทดลอง ทดสอบ กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ วิเคราะห์คุณสมบัติ คุณภาพ วัสดุ เพื่อสนับสนุนงานก่อสร้างและงานวิจัยและพัฒนา
|
2)
|
ศึกษา วิเคราะห์ กำกับ ดูแล ควบคุม มาตรฐานวัสดุเครื่องมือ วิธีการ และบุคลากรสำหรับงานทดสอบและวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ |
|
|
3)
|
วางแผน กำกับ ดูแล ควบคุม การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานทดสอบและวิเคราะห์เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดทางวิชาการ
|
4)
|
กำกับ ดูแล ควบคุมการกำหนดคุณสมบัติตามลักษณะเฉพาะ (Specification) ของเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมที่สำนักวิจัยและพัฒนาควบคุมเพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งาน
|
5)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
|
6)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา และสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
7)
|
ตรวจสอบ วิเคราะห์ ทดสอบงานก่อสร้างในสนาม เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดและหลักวิชาการ
|
8)
|
ให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม เผยแพร่วิทยาการในการทดสอบและวิเคราะห์วัสดุ และการปฏิบัติงานก่อสร้างในสนาม ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน
|
9)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
|
|
|
ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ |
|
|
1)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งดินน้ำ พืช สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมตามพันธกิจของกรมชลประทาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
|
2)
|
ศึกษา ค้นคว้า สรรหาหัวข้อวิจัยแบบบูรณาการเกี่ยวกับดิน น้ำ พืช สิ่งมีชีวิต เพื่อแก้ปัญหาในด้านการก่อสร้างด้านการเกษตร ด้านคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำชลประทานและวัชพืชที่ส่งผลกระทบต่อการส่งน้ำ การบำรุงรักษาและสิ่งแวดล้อม
|
3)
|
ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และทดสอบคุณภาพน้ำ ดินและวัสดุ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดทางวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการพัฒนาแหล่งน้ำตั้งแต่การวางแผน ศึกษา ออกแบบ การก่อสร้างการจัดสรรน้ำ และการบำรุงรักษาระบบชลประทาน
|
4)
|
สร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
5)
|
วางแผน กำกับ ดูแล ควบคุม การสอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์การทดสอบและวิเคราะห์ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดทางวิชาการ
|
6)
|
กำกับ ดูแล ควบคุมการกำหนดคุณสมบัติตามลักษณะเฉพาะ (Specification) ของเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์ที่สำนักวิจัยและพัฒนาควบคุม เพื่อสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งาน
|
7)
|
ให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม เผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่บุคลากร เพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
|
8)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
|
|
|
สถาบันพัฒนาการชลประทาน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ |
|
|
1)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือการสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
2)
|
ศึกษา วิเคราะห์ ดูแลการศึกษาด้านการชลประทาน เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในงานชลประทานอย่างยั่งยืน
|
3)
|
วิจัย พัฒนา สนับสนุน ส่งเสริม การจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
|
4)
|
ดำเนินการจัดหาแหล่งทุน เพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านการชลประทานของข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
|
5)
|
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการชลประทานให้แก่หน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการพัฒนางานด้านวิศวกรรมชลประทานและสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน
|
6)
|
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
|
|

|